เมนู

3. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุก-
ธรรม และนเหตุอเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
นเหตุสเหตุกธรรม ที่เป็นวิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมม-
ปัจจัย.
4. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

3. วิปากปัจจัย


[155] 1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่ 1-3).

4. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย
มี 1 วาระ.

14. อาหารปัจจัย


[155] 1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่ 1-3)
4. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย

คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอาหารปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ กวฬีการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของ
อาหารปัจจัย.

15. อินทริยปัจจัย


[156] 1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่ 1-3)
4. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุก-
ธรรม ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย

คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอินทริยปัจจัย.